ลักษณะการรำไทย
การฟ้อนรำที่ดีเด่นจะต้องมีลักษณะที่งดงาม หรือลีลาท่ารำที่งดงาม ผู้รำจะต้องเคลื่อนไหวร่างกาย
ให้สอดคล้อง กลมกลืนกันไปทุกส่วนของร่างกาย การฝึกหัดการเคลื่อนไหวมือและเท้า
ในวงการละครไทยเรียกว่า "นาฏยศัพท์"
นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ ที่ใช้ในการฝึกหัดเพื่อแสดงโขน ละคร
เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่างๆ
มือจีบ คือ การกรีดนิ้ว โดยเอานิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจรดกัน ให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดข้อแรกของ
ปลายนิ้วชี้ ให้ตึงนิ้ว นิ้วกลาง นาง ก้อย กรีดห่างกัน หักข้อมือไปทางฝ่ามือ จีบแบ่งเป็น ๕ ลักษณะ
จีบหงาย คือ การหงายฝ่ามือให้ปลายนิ้วชี้ขึ้น ถ้าอยู่ระดับหน้าท้องเรียกว่า จีบหงายชายพก
จีบคว่ำ คือ การคว่ำฝ่ามือให้ปลายนิ้วชี้ลง หักข้อมือเข้าหาลำแขน
จีบปรกข้าง คือ การจีบที่คล้ายกับจีบปรกหน้า แต่หันจีบเข้าหาแง่ศีรษะ ลำแขนอยู่ข้าง ๆ ระดับเดียวกับวงบน
จีบส่งหลัง คือ การส่งแขนไปข้างหลัง ตึงแขน พลิกข้อมือให้ปลายนิ้วชี้ขึ้น
แขนตึงและส่งแขนให้สูงไปด้านหลัง
กระดกเสี้ยว คล้ายกระดกหลัง แต่เบี่ยงขามาข้างๆและไม่ต้องกระทุ้งเท้า มักทำเนื่องต่อจากการก้าวข้าง หรือท่านั่งกระดกเท้า